Page Header

ปัจจัยด้านความคาดหวังของพนักงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ
Roles of Expectation Factors on Employee Organizational Commitment

Chuleewan Chotiwong, Kittiya Sukmee, Jutharat Pinthapataya

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความคาดหวังของพนักงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ เป็นการศึกษา ในรูปแบบเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หน่วยงานบริษัท เอ็นเนอร์จี โซลูชั่น เมเนจเมนท์ จำกัด จำนวน 107 คน และสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยด้านความคาดหวังของพนักงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1.1) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน รองลงมา ได้แก่ 1.2) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และ 1.3) ด้านค่าจ้างและสวัสดิการ เป็นลำดับสุดท้าย 2) ปัจจัยความผูกพันต่อองค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 2.1) ด้านความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อองค์การ รองลงมา ได้แก่ 2.2) ด้านความต้องการที่จะรักษาความเป็นสมาชิกขององค์การ และ 2.3) ด้านความเชื่อมั่นและการยอมรับเป้าหมายขององค์การ เป็นลำดับสุดท้าย ส่วนปัจจัยด้านความคาดหวังของพนักงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์การได้มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยความคาดหวังด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน รองลงมาได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านความมั่นคงในงาน ตามลำดับ

The study aims to investigate expectation factors relating to employee organizational commitment. A questionnaire was used for gathering information from respondents. The sample group consisted of 107 employees at Energy Solution Management Co., Ltd. The methods for performing statistical analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The results of this study found that 1) overall employee expectation factor was at a high level in a prioritized order as follows: strong workplace relationships; followed by a supervisor-employee relationship; and appropriate remuneration and benefits granted to employees. 2) Overall employee organizational commitment was assessed at a high level, in a descending order of priority in this manner: willingness to exert effort for the organization, a desire to maintain membership in the workplace along with organizational confidence and acceptance of organizational objectives. The most important factors that indicate significant effect on employee organizational commitment comprised a good work environment, strong working relationships with colleagues, and satisfaction with job security respectively.


Keywords



[1] พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2552). ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ ความหมายทฤษฎี วิธีวิจัยการวัดและงานวิจัย. สํานักพิมพ์เสมาธรรม.

[2] Vroom, V. H. (1964). Work and Motivation. Wiley and Sons Inc.

[3] Steers, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22, 46-56.

[4] แสงเดือน รักษาใจ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. Dspace Bu.

[5] Porter, L. W., Steers, R. M., Mowday, R. T. & Boulian. (1974). Organizational Commitment, Job Satisfaction, and Turnover Among Psychiatric Technicians. Journal of Applied Psychology, 59, 604.

[6] Yamane (1970). Statistic: An Introductory Analysis (2nd ed). Harper & Row.

[7] กมลวรรณ ปานประดิษฐ์ และ อดิศร ภู่สาระ. (2563). แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 113-121.

[8] ณฐพรรณ ชาญธัญกรรม. (2560). ปัจจัยทีส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน). (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกริก). สืบค้นจาก https://mis.krirk.ac.th/librarytext/MBA/2560/F_NATTAPHAN%20_CHANTANYAKAM.pdf

[9] พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล ธัญวฤณ วัทโล และ วิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27-39

[10] ชัชวาล ดวงบุบผา. (2563). บุพปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน เจนเนอเรชั่นวายของธนาคารออมสิน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 421-441

[11] สุชาต อดุลย์บุตร. (2561). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานและลูกจ้างองค์การทหารผ่านศึก.วารสารเกษมบัณฑิต. 19, 201-211

[12] ศมนญา แก้วกนึก และ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 110-118

[13] ศิริพร พรมไชย และ จตุพร สังขวรรณ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท A. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยเซาธ์อีสต์บางกอก.

[14] สุชน ทิพย์ทิพากร และ ประสพชัย พสุนนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา: สถานประกอบการ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารธุรกิจปริทัศน์คณะวิทยาการจัดการ, 9(1), 143-158.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2022.11.001

Refbacks

  • There are currently no refbacks.