Page Header

3D Finite Element Simulation Results of Performance of A Bearing Reinforcement Earth Wall Compared to Field Observation

Manlika Mobkrathok, Suksun Horpibulsuk, Artit Udomchai, Chakkrit Yeanyong, Menglim Hoy

Abstract


กำแพงกันดินเหล็กเสริมแบกทานประกอบด้วยเหล็กเสริมแบกทานที่เชื่อมต่อเข้ากับแผ่นผนังคอนกรีต เหล็กเสริมแบกทานประกอบด้วยเหล็กตามยาวและเหล็กตามขวาง เหล็กเสริมตามยาวทำมาจากเหล็กข้ออ้อย ในขณะที่เหล็กตามขวางทำมาจากเหล็กฉากซึ่งทำให้แรงต้านทานแรงดึงแบกทานสูง กำแพงกันดินที่ทำการศึกษา มีความสูง 9.75 เมตร และความกว้าง 14.80 เมตร สร้างขึ้นที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าเนินดินที่มีความชันประมาณ 48 องศา กำแพงกันดินถูกเสริมกำลังด้วยเหล็กเสริมแบกทานทั้ง 3 ด้านของกำแพง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลตรวจวัดจริงที่เกิดขึ้นในสนาม กับพฤติกรรมที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์แบบ 3 มิติ โดยโปรแกรม PLAXIS 3D บทความนี้นำเสนอพฤติกรรมของกำแพงกันดิน ใน 3 สภาวะ ได้แก่ หลังสิ้นสุดการก่อสร้าง การติดตั้งท่าเทียบรถบรรทุก  และขณะเปิดใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมการทรุดตัวในแนวดิ่งของดินถมที่ตรวจวัดโดย Settlement plate, การเคลื่อนตัวด้านข้าง ตรวจวัดโดย Inclinometer และแรงดึงในเหล็กเสริมแบกทาน ตรวจวัดโดยใช้เกจวัดความเครียด จากผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการทรุดตัวในสภาวะก่อนเปิดใช้งานมีความแตกต่างกันระหว่างผลการตรวจวัดและการวิเคราะห์ แต่เมื่อทำการเปิดใช้งานไปแล้ว (ที่เวลา 270 วัน หลังเริ่มต้นก่อสร้าง) การทรุดตัวสุดท้ายของกำแพงกันดินมีค่าใกล้เคียงกัน ในขณะที่การเคลื่อนตัวด้านข้างทั้งสองด้านของกำแพงมีรูปแบบเดียวกัน ผลการตรวจวัดการเคลื่อนตัวด้านข้างมีค่าสูงกว่าผลการวิเคราะห์ และแรงดึงสูงสุดที่เกิดขึ้นในเหล็กเสริมแบกทานของทั้งการตรวจวัดและวิเคราะห์ มีความใกล้เคียงกันและระนาบแรงดึงสูงสุดสามารถประมาณได้ด้วยวิธีของ AASHTO (2002)


Keywords


bearing reinforcement earth wall; finite element; PLAXIS 3D

[1] S. Horpibulsuk, Ground Improvement Techniques, Suranaree university of Technology, Nakhon Ratchasima, 2011 (in Thai).

[2] Standard of Mechanically Stabilized Earth Wall, Standard No. DH-S 105/2550,2007 (in Thai).

[3] S. Horpibulsuk, C. Suksiripattanapong and A. Niramitkornburee, "A Method of Examination Internal Stability of Bearing Reinforcement Earth (BRE) Wall," Suranaree Journal of Science and Technology, vol. 17, no. 1, pp. 1-11, 2010.

[4] C. Yeanyong, " Stability investigation of flood wall structure using plaxis 2D," Suranaree university of Technology, Nakhon Ratchasima, 2017 (in Thai).

[5] A. Udomchai, S. Horpibulsuk, C. Suksiripattanapong, N. Mavong, R. Rachan and A. Arulrajah, "Performance of the bearing reinforcement earth wall as a retaining structure in the Mae Moh mine, Thailand," Geotextiles and Geomembranes, vol. 45, no. 4, pp. 350-360, 2017.

[6] School of civil Engineering,Suranaree university of Technology, "Application of Bearing Reinforcement Earth (BRE) Wall As A Retaining Structure in Mae Moh Mining," Nakhon Ratchasima, 2015. (in Thai).

[7] American Concrete Institute, Building Code Requirements for Structural Concrete (ACI 318-19), Farmington Hills, 2019.

[8] S. Horpibulsuk and A. Niramitkornburee, "Pullout Resistance of Bearing Reinforcement Embedded in Sand," Soils and Foundation, vol. 50, no. 2, pp. 215-226, 2010.

[9] American Association of State Highway and Transportation Officials, "Standard Specification for Highway Bridges (AASHTO 2002)," American Association of State Highway and Transportation Officials, Washington, 2002.

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -