Page Header

The Development of a Model to Enhance Creative Thinking using PBL and Pairs Learning Method with Scaffolding System via Computer Network

Jittima Panyapisit, Monchai Tiantong

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีการเรียนเป็นคู่ที่มีระบบเสริมศักยภาพผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ หรือ รูปแบบ PBLPSC 2) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ PBLPSC 3) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ PBLPSC 4) เปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนตามรูปแบบ PBLPSC 5) เปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนตามรูปแบบ PBLPSC และ 6) หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนตามรูปแบบ PBLPSC วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สังเคราะห์รูปแบบ PBLPSC ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ PBLPSC ระยะที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูล และระยะที่ 4 วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 24 คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 52 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัมมนาทางคอมพิวเตอร์ศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบ PBLPSC และแบบประเมินความเหมาะ 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ PBLPSC และแบบประเมินความเหมาะ 3) กิจกรรมพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบ PBLPSC และแบบประเมินความเหมาะสม 4) แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยรูปภาพแบบ ก. ตามแนวคิดของทอแรนซ์  และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่ได้เรียนด้วยรูปแบบ PBLPSC สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบ PBLPSC ที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย 7 โมดูล ได้แก่ โมดูลผู้สอน โมดูลเนื้อหาการเรียนรู้ โมดูลผู้เรียน โมดูลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีการเรียนเป็นคู่ที่มีระบบเสริมศักยภาพ โมดูลการติดต่อ สื่อสาร โมดูลกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ และโมดูลการประเมินผล ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบ PBLPSC ที่สังเคราะห์ขึ้นอยู่ในระดับมาก (  = 4.40, S.D. = 0.68) 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและวิธีการที่มีต่อบทเรียนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.71, S.D. = 0.20) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาที่มีต่อบทเรียนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (  = 4.44, S.D. = 0.46)  และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก (  = 4.48, S.D. = 0.45) 3) บทเรียนคอมพิวเตอร์ตามรูปแบบ PBLPSC มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ของเมกุยแกนส์ (1.32) 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 6) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.73, S.D. = 0.28) สรุปได้ว่า รูปแบบ PBLPSC ที่สังเคราะห์ขึ้นสามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียนได้

Keywords


การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน; วิธีการเรียนเป็นคู่; ระบบเสริมศักยภาพ; ความคิดสร้างสรรค์

[1] P. Raphiphan, "Thailand 4.0 What is it," 3 February 2017. [Online]. Available: https:// www.it24hrs.com/2017/thailand-4-0/. [Accessed 1 July 2018]. (in Thai)

[2] N. Tuaycharoen, "Thailand 4.0 What... What...is 4.0," 2017. [Online]. Available: http://www.9experttraining.com/articles/thailand-4.0. [Accessed 1 July 2018]. (in Thai)

[3] K. Chareonwongsak, "New Future of Education Thailand in Thailand 4.0," 2016. [Online]. Available: www.li.mahidol.ac.th/ conference2016/thailand4.pdf. [Accessed 3 July 2018]. (in Thai)

[4] Office of the National Education Commission, Office of the Prime Minister, Thailand, National Education Act B.E.2542 (1999), Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao, 1999. (in Thai)

[5] S. Sinthaphanon, Learning Management of New Age Teachers to Improve Student Skills in the 21st Century, Bangkok: 9119 Printing Technology Partnership, 2015.
(in Thai)

[6] P. J. Guilford, "Creativity," American Psychologist, vol. 5, no. 9, pp. 444-454, 1950.

[7] A. Phanmanee, Practice Thinking, Think Creatively, Bangkok: Chulalongkorn Univesity Press, 2014. (in Thai)

[8] M. Tiantong, Courseware Design and Development for CAI, Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok Textbook Publishing Center, 2002. (in Thai)

[9] M. Hannafin and K. Hannafin, "A Framework for Scaffolding Performance in ADDL Environments," in Proceedings of E-Learn 2003--World Conference on E-Learning in Corporate, Government, Healthcare, and Higher Education (pp. 1602-1605), Phoenix, Arizona, USA, 2003.

[10] F. E. William, Classroom Ideas for Encouraging Thinking and Feeling, New York: D.O.K. Publishing Co., 1970.

[11] H. M. Davis and M. R. Harden, "AMEE Medical Education Guide No.15 : Problem-based Learning : a Practical Guide," Med Teach, vol. 21, pp. 130-140, 1999.

[12] W. Arreerard, "A Development of Computer Aided Instruction via Computer Network," Doctor of Philosophy Program in Computer Education, Department of Computer Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2006. (in Thai)

[13] W. Jaidee, "The Development of a Learning Model with Simulation Tool for Structured Algorithm using Problem-based Learning with Scaffoldings System on the Web," Doctor of Philosophy Program in Computer Education, Deaprtment of omputer Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2015. (in Thai)

[14] Y. Nami, H. Marsooli and M. Ashouri, "The Relationship Between Creativity And Academic Achievement," Procedia-Social and Behavioral Sciences, vol. 114, pp.36-39, 2014.

[15] S. Boonlue, “The Development of Problem Based Learning Virtual Classroom Model in Higher Education,” Doctor of Education Degree in Education Technology, Graduate College, Srinakharinwirot University, 2007. (in Thai)

[16] P. Tongdeelert, "A Proposed Collaborative Learning Model on Computer Network-based Learning For Undergradate Students with Different Learning Styles," Doctor of Educational Communications and Technology, Department of Curriculum Instruction and Educational Technology, Chulalongkorn University, 2004. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -