ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Page Header

การพัฒนาระบบสารสนเทศการสื่อสารเพื่อสง่เสริมการปฏิบตัิงานของ อาสาสมัครสาธารณสขุ (อสส.) ในกรุงเทพมหานคร

จักรีรัตน์ แสงวารี

Abstract


การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ในกรุงเทพมหานครนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบสารสนเทศการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร สาธารณสุข (อสส.) ในกรุงเทพมหานคร และหา ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ รวมทั้งประเมินผลการใช้ระบบสารสนเทศ ตลอดจนการวัดความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ในกรุงเทพมหานครที่มีต่อระบบสารสนเทศการสื่อสารเพื่อ ส่งเสริมการปฏิบัติงาน โดยใช้รูปแบบของการวิจัยและพัฒนา มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจ านวน 3 ท่าน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ศูนย์บริการสาธารณสุข 50 เขตบึงกุ่ม จ านวน 30 คน และประชาชน ครัวเรือนในเขตดูแลรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) กรุงเทพมหานคร จ านวน 400 คน เก็บรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า  1. การสร้างระบบสารสนเทศการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ใน กรุงเทพมหานคร ได้สร้างออกมาในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชั่น เป็นซอฟต์แวร์ประเภทเว็บเบราเซอร์เป็นหลัก โดยมี รายละเอียดใน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับผู้ดูแลระบบ 2) ระดับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) และ 3) ระดับบุคคลทั่วไป ประกอบด้วย ข้อมูลหลักของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ข้อมูลเกี่ยวกับครัวเรือนที่ดูแล และข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสาร  2. ผลการหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศการสื่อสาร จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ พบว่าในภาพรวมมี ประสิทธิภาพมากที่สุดในทุกประเด็น ได้แก่ ด้านการเข้าใช้ระบบ ด้านเทคนิคการออกแบบระบบ และด้านความสามารถของ ระบบ ตามล าดับ  3. ผลการประเมินการใช้ระบบสารสนเทศการสื่อสาร จากการประเมินผลประชาชนครัวเรือนในเขตดูแลรับผิดชอบ ของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) กรุงเทพมหานคร พบว่าในภาพรวมมีการใช้งานระบบสารสนเทศการสื่อสารมากที่สุดในทุก ประเด็น ได้แก่ ด้านการแจ้งข่าวสารด้านสาธารณสุขมูลฐาน ด้านการให้ค าแนะน าด้านสาธารณสุขมูลฐาน และด้านการบ าบัด ทุกข์ด้านสาธารณสุขมูลฐาน ตามล าดับ  4. ผลความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ที่มีต่อระบบสารสนเทศ จากการประเมิน พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดในทุกประเด็น ได้แก่ ด้านการประเมินคุณค่าของระบบ สารสนเทศ ด้านการใช้งานระหว่างระบบกับผู้ใช้ และด้านการประมวลผลของระบบสารสนเทศ ตามล าดับ

Keywords


-

กลุ่มงานสาธารณสุข กองสร้างเสริมสุขภาพ. (2556). คู่มือปฏิบัติงานสาธารณสุขเชิงรุก, ส าหรับอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ [2] บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543). นวัตกรรม      การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือ      จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย. [3] ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ. (2545). กรอบนโยบายเทคโนโลยี สารสนเทศระยะ 2544 – 2553 ของประเทศ ไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีเล็กทรอ นิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. [4] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545). เทคโนโลยีและ สื่อสารการสอน เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยี หน่วยที่ 1-5. กรุงเทพมหานคร ส านักเทคโนโลยีทางการศึกษาหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช  [5] อมร นนทสุข. (2531). [ออนไลน์]. แนวคิดของ การสาธารณสุขมูลฐาน. [สืบค้นวันที่ 25 พ ฤ ศ จิ ก า ย น 2 5 6 0 ] จ า ก : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/ book/book.php?book=12&chap=1&page =t12-1-infodetail04.html [6] สุริยา นทีศิริกุล. (2546). สภาพและปัญหาการ จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดส านักงานการ ประถมศึกษาอ าเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. [7] Leung, L., Wei, R., 2000, More than Just Talk on the Move: Uses and Gratifications  of the Cellular Phone. Journalism and Mass Communication Quarterly, 77, 308-320. [8] Klapper, J. T.1960 . The Effects of Communication. New York: Free Press.

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี

ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th 

ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา  เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การเตรียมบทความ

ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่  http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx

 

วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI