Page Header

Application of Geographic Information System Data for Flood Susceptibility Area and Catchment Area Assessment: A Case Study the Southern Area of SuphanBuri Province

Kanchana Meeching, Sawittri Thongkungand, Thongchai Suteerasak

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและประเมินพื้นที่รองรับน้ำของ 4 อำเภอตอนล่างของจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์แบบลำดับชั้นในวิธีการวิเคราะห์การตัดสินใจหลายหลักเกณฑ์สำหรับจำลองพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมใช้ปัจจัยสำหรับศึกษา 5 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน การระบายน้ำของดิน ความลาดชัน ระยะห่างจากแหล่งน้ำ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนการประเมินพื้นที่รองรับน้ำใช้ 3 ปัจจัย ได้แก่ ความลาดชัน ระยะห่างจากแหล่งน้ำและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 44.12 และพื้นที่เสี่ยงสูงคิดเป็นร้อยละ 29.15 พื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมมาก ได้แก่ พื้นที่อำเภอบางปลาม้าและอำเภอสองพี่น้อง ในส่วนของพื้นที่เหมาะสมมากสำหรับพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับน้ำมีพื้นที่เท่ากับ 849 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 22.19 ของพื้นที่ทั้งหมด จากการเปรียบเทียบแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่รองรับน้ำ พบว่ามี 4 พื้นที่เหมาะสมนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับน้ำ คือ พื้นที่ตำบลจรเข้สามพันในอำเภออู่ทอง พื้นที่ตำบลบางตะเคียนในอำเภอสองพี่น้อง พื้นที่ตำบลตลิ่งชันในอำเภอเมือง และพื้นที่รอยต่อระหว่างตำบลโคกโคเฒ่าอำเภอเมืองและตำบลโคกครามอำเภอบางปลาม้า

The research aims to assessed flood susceptibility area and catchment area in the four districts of Suphanburi province, Thailand. The criteria using in the GIS analysis that has been provided from the Analytical Hierarchy Process (AHP). The concerned parameter for provide a flood susceptibility map that were, i.e., rainfall, soil drainage, slope, distance from river, and land use. While, the catchment area map used three parameters, i.e. slope, distance from river and land use. The result shows that the moderate flood susceptibility area was the most area in a map (44.12%). On the other hand, the high flood susceptibility area (29.15%) found that located on the Bangplama district and Songphinong district. In the part of catchment area, these was found 849 km2 (22.19% of total area) suitable for developed to be the catchment. The comparison results of flood susceptibility areas and suitable catchment areas these found that the four locations were suitable to developed being the catchment area, such as Jorakae Sampan subdistrict, Bangtakien subdistrict, Taling Chan subdistrict and the area junction between Cokcothow subdistrict and Cokkarm subdistrict.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.04.001

ISSN: 2985-2145