Page Header

การออกแบบทางจักรยานเพื่อการขนส่งที่ยั่งยืนในเขตเทศบาลนครระยอง
Designing Bikeway for Sustainable Transport in Rayong Municipality

Sakaradhorn Boontaveeyuwat, Sawang Panjun

Abstract


ในปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเทศบาลนครระยองทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในชั่วโมงเร่งด่วน ส่วนหนึ่งเกิดจากการอพยพเข้ามาของประชากรต่างถิ่น เพื่อเข้ามาทำงานในจังหวัดระยองมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และเขตพื้นที่อุตสาหกรรมไออาร์พีซี ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดภายในเมืองอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง และการปล่อยมลพิษทางอากาศของกลุ่มก๊าซเรือนกระจก (กลุ่มก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)) อย่างมาก แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดอย่างยั่งยืน คือ ลดการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวลง และเน้นการเดินทางโดยการใช้จักรยานและการเดินเท้าเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบทางจักรยานโดยใช้ 2 ตัวแปรหลักในการออกแบบได้แก่ ปริมาณจราจรรายวัน และความเร็วของยานพาหนะส่วนใหญ่ที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์ โดยใช้หลักเกณฑ์ของรัฐออนแทริโอประเทศแคนาดา ร่วมกับการประชุมรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ศึกษาบนถนนตากสินมหาราชและถนนจันทอุดมในเขตเทศบาลนครระยอง ผลการออกแบบในเชิงทฤษฎีพบว่า รูปแบบทางจักรยานที่เหมาะสมสำหรับ 2 พื้นที่ศึกษา คือ ทางจักรยานแบบแบ่งพื้นที่ถนน (รูปแบบ B) อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่ต้องการรูปแบบทางจักรยานแบบจัดพื้นที่เฉพาะสำหรับทางจักรยานมากกว่า (รูปแบบ A) เพราะมีความปลอดภัยในการเดินทางที่มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับอนาคตที่ปริมาณจราจร

At present, the traffic congestion problem in Rayong Municipality is increasingly becoming the serious problem especially in the peak hour. One of the reasons comes from the increasing immigration of unregistered population working in Maptaphut Industrial Estate and IRPC Industrial area with the results on the immense traffic congestion problem affecting wasting energy and the huge emission of air pollution of greenhouse gases (HC, CO, NOx and CO2). The sustainable solution is reduce using private cars by focusing on biking, walking connecting with riding on the public transportation system. This paper presents the design of bikeway by using 2 important parameters: daily traffic volume and vehicle speed at the 85th percentile based on Ontario Bikeways Planning and Design Guidelines together with the public participation in the two case study areas: Taksin Maharat and Chantaudom Roads. The results of theoretical design demonstrate that the appropriate bikeways of both cases which is divided road area for Type B (dived road area for bikeway). Nonetheless, local people who are stakeholders prefer the exclusive road area for bikeway (Type A) due to the safety reason compatible with the higher traffic in the future.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.05.006

ISSN: 2985-2145