Page Header

คุณลักษณะของพนักงานที่ส่งผลต่อการเลิกจ้างงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
Personal Attributes Affecting Employee Termination during the Economic Crisis

Wiyada Ruangsakulchai, Soimat Mit Ari, Sukit Karnkaew

Abstract


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารต่อคุณลักษณะของพนักงาน ด้านปัจจัยส่วนบุคคลด้านการปฏิบัติงาน ด้านทักษะในงาน และด้านวินัยในการทำงานที่ส่งผลต่อการเลิกการจ้างงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้จัดการฝ่ายผลิตที่ปฏิบัติงานในเขตประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็น แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test ผลการศึกษา พบว่า เกณฑ์สำคัญในการพิจารณายกเลิกการจ้างงาน ได้แก่ ระดับเงินเดือนของพนักงาน รองลงมา ได้แก่ อายุผลการศึกษาคุณลักษณะของ พนักงานที่ส่งผลต่อการเลิกการจ้างงาน ในด้านการปฏิบัติงานเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ได้แก่ 1) ผลการประเมินงานรวมอยู่ระดับต่ำ 2) มีอัตราของเสียจากการปฏิบัติงานเกินกว่าที่กำหนด 3) ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน 4) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 5) ปฏิบัติงานได้จำนวนชิ้นงานตามที่กำหนด ในด้านทักษะการปฏิบัติงานเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ได้แก่ 1) ปฏิบัติงานตามคู่มือ 2) พัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ 3) ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีคุณภาพ 4) อธิบายงานได้ถูกต้องชัดเจน 5) เชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ และในด้านวินัยในการทำงานเรียงลำดับจากมากมาน้อย ได้แก่ 1) มีพฤติกรรมยั่วยุ ส่งเสริมก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน 2) ละทิ้งหน้าที่ ความรับผิดชอบ 3) ไม่ดูแลทรัพย์สินบริษัท 4) ทำงานผิดพลาด 5) ดื่มสุรา 6) ทะเลาะวิวาท 7) เล่นการพนัน และ 8) มาทำงานสาย ตามลำดับ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้จัดการฝ่ายผลิตมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของพนักงานที่ส่งผลต่อการเลิกการจ้างงาน ในด้านการปฏิบัติงานของพนักงานไม่แตกต่างกัน ในด้านทักษะการปฏิบัติงานของพนักงานมีไม่แตกต่างกันในทุกด้านยกเว้นในด้านพนักงานสามารถพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ ส่วนในด้านวินัยในการทำงานของพนักงาน พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน

The objective of this study was to examine the opinions and perceptions of managers regarding employee personal attributes, covering aspects of poor employee performance, lack of skills and workplace discipline that can affect the termination of employment in the economic crisis. Group of informants were human resources managers and production managers working in the factories in Rojana Industrial Park, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The tool for quantitative data collection was a questionnaire. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, T-test and Ftest. As results, the reasons and the criteria for employee termination involved expenses, i.e. the amount of their wages or salary, followed by the age factor. In ascending order, personal attributes that affect the termination of employment were revealed as: 1) employees’ poor overall performance, 2) excessive production waste, 3) breach of workplace safety standards, 4) failure of the employer to complete assigned tasks in a timely manner, and 5) incapacity to meet the defined number of workpiece requirements. In terms of operational skills, critical attributes of workforce are listed hereby in an ascending order: 1) compliance with task rules and instructions. 2) willingness to improve work performance, 3) capacity to complete assigned tasks in an efficient manner. 4) ability to describe the work clearly and precisely, 5) expertise and thorough understanding to perform assigned tasks. The discipline elements which affect the dismissal decision in a descending order are the following: 1. negative workplace behaviors that can ruin the corporate reputation 2) Neglect of duties and responsibilities, 3) failure to take proper care of assets and equipment that employees are entrusted with, 4) making mistakes at work, 5) alcohol intoxication, 6) physical altercations, 7) workplace gambling, and 8) showing up late to work. There was no difference of opinion between human resources and production managers on employees’ working performance and discipline aspects that affect the dismissal decision. As regards operational skills, there was no difference of opinion between both survey response groups in all areas, excluding the perspective on employee ability to develop and improve their work.


Keywords



[1] วิชชุดา ชาญณรงค์. (2552,19 มกราคม).“อยุธยาจ่อว่างงานนับแสนอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วนยานยนต์ป่วนลามธุรกิจหอพักอสังหาฯ-ค้าปลีก”.ประชาติธุรกิจ,23
[2] ธนิต โสรัตน์. (2552). ยุทธศาสตร์การปรับตัวภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจถดถอย.www.ianitsorat.com
[3] กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงาน. (2552). มาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง. www.labour.go.th/abourrelation/doclr1 .pdf
[4] ศ ร าย ุท ธ ทองอ ร่าม . (2551). ผลกระทบของปัญห าซับไพร์มต่อเศรษฐกิจไทย. www.fti.or.th/2008/thai/ftitechnicalsubdetail.aspx.
[5] อัจฉรา วงษ์วานิช. (2552). การบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงก่อนและหลังสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขนาดย่อม. http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/researchview/research-581
[6] ดิลก ถือกล้า. (2552). ภาวะผู้น าของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤติขององค์กร. http://www.atci.org/news.php?news=data3.html
[7] ธนนุช ตรีทิพยบุตร. (2551,30 ธันวาคม).“คาดอีก 6 เดือน แรงานยังถูกปลดอีก”. มติชนรายวัน,5
[8] ธนรัตน์ วรินทรเวช. (2552). การขานรับนโยบายการบริหารงานบุคคลของพนักงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ: ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ไมโครนติค จำกัด (มหาชน). http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-571.
[9] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550).“วางคนให้ถูกที่...ทวีคูณผลงาน”. www.pharm.su.ac.th/thai/teaching/550515
[10] ปิยะมาศ เอมกลิ่นบัว. (2541). การบริหารจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
[11] ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). การวางแผนก าลังคน.บุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). www.med.cmu.ac.th/secret/planning/data1/work2.ppt
[12] โสรัจ จตุรทิศ. (2543). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบริษัทไทย ญี่ปุ่นและ สหรัฐอเมริกาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[13] Chiraprapha, Wattanapong. (2000). The Relationship between Factors Impacted by the Current Economic Crisis and Human Resource Development Roles and Functions in Thailand.Thesis submitted to The Faculty of Graduate School. The University of Minnesota.
[14] อ านวย ถาวร. (2547). หน่วยที่ 8 : การคัดเลือบุคลากร.http://krusart.rru.ac.th/eLearning/amnuay/amnuy1/8-2-1. html
[15] พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2552). Crisis Management ฝ่ามรสุมด้วยกลยุทธ์สื่อสาร.www.bangkokbiznews.com
[16] ธงชัย สันติวงษ์. (2551,30 กันยายน). องค์การฝ่าวิกฤติได้ด้วยการออกแบบ. http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/30/news_298760.php
[17] Asian Development Bank (2020) AEC GDP 2020. https://www.adb.org/
[18] Dessler. (2019) Human Resources Management. (25th ed.). Pearson Education.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2021.02.004

Refbacks

  • There are currently no refbacks.