Page Header

การตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน

Pracha Tansaenee, Nirumon Maneesawangwong

Abstract


การวิจัยเรื่อง การตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน และ (2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับ การตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างแบบใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแจกแจงความถี่ และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี ประเภทของหน่วยงานเอกชน ฯ ประเภทตำแหน่งงานระดับผู้ปฏิบัติ และประสบการณ์ทำงาน ไม่เกิน 5 ปี โดยพบว่า (1) ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับมาก และ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และ (2) ผลการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประสบการณ์ ที่มีความแตกต่างส่งผลต่อความคิดเห็นของการตระหนักรู้ของบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

The research objectives are (1) to study the perceptions and awareness of students of the Master of Business Administration (MBA) program, Ramkhamhaeng University towards national Higher Education Standards B.E. 2561 (2018) in desired learning outcomes, and (2) to explore individual differences in demographic characteristics and opinion levels on the perceptions of aforesaid framework. The study sample, being drawn from convenience sampling included 400 MBA students of Ramkhamhaeng University. A questionnaire set served as the instrument for collecting data. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, frequency distribution and one-way ANOVA. The majority of respondents represented female, aged between 26-35 years, business owners, office employees, possessing less than five years’ experience. As results, respondents’ perception of Higher Education Standards Framework 2018 on learning outcomes was overall at a high level. Substantial aspects could be prioritized in this manner: Smart Citizenship, Having vital competencies and skills; and Possessing characteristics of creative and innovative individuals. Differences in perceptions towards the 2018 framework were found among respondents with different types and levels of work experience (p<0.05).


Keywords



[1] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

[2] อธิษฐาน จันทร์กลม. (2561, 23 สิงหาคม). บัณฑิตตกงาน บทสะท้อนคุณภาพการศึกษาชาติ. Matichon. https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen- scoop/news_1223338

[3] เนตรปรียา ชุมไชโย (2561, 5 พฤศจิกายน). ทำไมคะแนนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงย่ำแย่ มาติดกัน 8 ปีแล้ว. บีบีซี นิวส์ ไทย. https://www.bbc.com/thai/thailand-46093794

[4] เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2563, 11 ธันวาคม). วิกฤติบัณฑิตตกงาน. การสัมภาษณ์ สยามรัฐออนไลน์. Siamrath .https://siamrath.co.th/n/203

[5] สยามรัฐออนไลน์. (2563, 11 ธันวาคม). วิกฤติบัณฑิตตกงาน. Siamrath .https://siamrath.co.th/n/203528] 2. https://siamrath.co.th/n/203528

[6] สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. (2562, 4 ธันวาคม). 10 ซีอีโอยักษ์ใหญ่เรียนจบอะไร. Efinancethai. ://www.efinancethai.com/efinReview/efinReviewMain.aspx?release=y&name=er_201912041546

[7] ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2561, 17 สิงหาคม). เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561. ratchakitcha. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/199/T19.PDF

[8] กุลวดี สุดหล้า. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตระหนักด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง กรณีศึกษา : บริษัทนำเข้าส่งออกแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

[9] พีรพร ทองขะโชค และอาคม ใจแก้ว. (2562). ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยการจัดการ, 30(1), 23-51.

[10] มินตรา ภูริปัญญวานิช. (2561, 5 พฤศจิกายน). ทำไมคะแนนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงย่ำแย่ มาติดกัน 8 ปีแล้ว. บีบีซี นิวส์ ไทย. https://www.bbc.com/thai/thailand-46093794

[11] ปฐมภูมิ วิชิตโชต. (2559). ศึกษาการประยุกต์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกรณีศึกษาการใช้งานโปรแกรม GLPI ของพนักงานบริษัทในเครือวาลีโอ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

[12] เอกภาวิน สุขอนันต์ (2562, 18 กรกฎาคม). ประสบการณ์การทำงานแบบดิจิทัล สำคัญกับพนักงานอย่างไร. Matichon. https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_1586755

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2021.03.020

Refbacks

  • There are currently no refbacks.