Page Header

Editorial Policies

Focus and Scope

วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์นำเสนอบทความวิชาการและบทความวิจัยโดยขอบเขตเนื้อหาของบทความจะคลอบคลุมสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาทิ สาขาวิชาภาษา จิตวิทยา บริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน การจัดการ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ พลศึกษา ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น

 

กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม


คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความ



 

Section Policies

Articles

  • Checked Open Submissions
  • Checked Indexed
  • Checked Peer Reviewed

บทความวิจัย (Research Article)

  • Checked Open Submissions
  • Checked Indexed
  • Checked Peer Reviewed

บทความวิชาการ (Academic Article)

  • Checked Open Submissions
  • Checked Indexed
  • Checked Peer Reviewed

ปกวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์

  • Checked Open Submissions
  • Checked Indexed
  • Checked Peer Reviewed
 

Peer Review Process

บทความจะต้องได้รับการประเมินด้วยระบบ double-blinded review system โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาวิชานั้น จำนวน 2 ท่าน

 

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

 

Publication Ethics

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ หรือไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่ได้มีการปรุงแต่ง บิดเบือน แก้ไข ดัดแปลงข้อมูลหรือตัวเลขใด ๆ เพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

3. ผู้นิพนธ์ต้องทำการอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตน และมิได้คัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัยให้ถูกต้องเป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานที่วารสารกำหนด

5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความวิชาการและบทความวิจัยทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนั้น ๆ จริง

6. ผู้นิพนธ์ควรระบุแหล่งทุนสนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี)

 

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความวิชาการและบทความวิจัยที่ส่งมาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพของบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ

2. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องรับทราบในระหว่างอยู่ในกระบวนการประเมินบทความ

3. บรรณาธิการวารสารตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว และใช้หลักการพิจารณาบทความโดยอิงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก และต้องไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์และบทความที่พิจารณาไม่ว่าด้วยกรณีใด

4. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ตรวจสอบว่าบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน

5. บรรณาธิการวารสารต้องพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความเป็นผู้ประเมินบทความ และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double-blinded Peer Review)

6. บรรณาธิการวารสารต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง

7. บรรณาธิการวารสารต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับของบทความ และไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาในระหว่างอยู่ในกระบวนการประเมินบทความ จวบจนกว่าบทความนั้นจะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารอย่างเป็นทางการ

2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และกองบรรณาธิการวารสาร หากภายหลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการวารสารแล้วพบว่าตนอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ควรแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารรับทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น

3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง

4. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความอคติ ความลำเอียง ความขัดแย้งส่วนตัว ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ปราศจากข้อมูลรองรับที่น่าเชื่อถือมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ และควรให้คำแนะนำต่อบทความตามหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

5. ผู้ประเมินบทความควรรักษาระยะเวลาการประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารกำหนด