Page Header

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในหน่วยภาครัฐและภาคเอกชน พื้นที่จังหวัดชลบุรี
Work Motivation of Generation Y in Public and Private Sector in Chonburi Province

วารี ทิพย์เนตร, เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดชลบุรี การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 14 คน โดยแบ่งเป็นคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานภาครัฐ 7 คน และในหน่วยงานภาคเอกชน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจในการทำงานของคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านทัศนคติส่วนบุคคล และทัศนคติของครอบครัว และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ค่าตอบแทน ลักษณะของงานที่ทำ สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และโอกาสความก้าวหน้าในงาน สำหรับปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจในการทำงานของคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในภาคเอกชน มีเพียงปัจจัยภายนอกเท่านั้น ประกอบด้วย ค่าตอบแทน ลักษณะของงานที่ทำ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โอกาสความก้าวหน้าในงาน และความเป็นอิสระในงาน สำหรับการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและภาคเอกชน พบว่า แรงจูงใจในการทำงานที่พบทั้งคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและภาคเอกชน คือ ค่าตอบแทน ลักษณะของงานที่ทำ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และโอกาสความก้าวหน้าในงาน ส่วนแรงจูงใจในการทำงานที่พบเฉพาะกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในภาครัฐเท่านั้น คือ สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ส่วนความเป็นอิสระในงาน พบว่าเป็นแรงจูงใจในการทำงานของคนเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานในภาคเอกชนเท่านั้น

คำสำคัญ : แรงจูงใจในการทำงาน  เจเนอเรชั่นวาย  หน่วยงานภาครัฐ  หน่วยงานภาคเอกชน

The purposes of this qualitative study were to investigate and compare a level of work motivation among Generation Y workers, working for both public and private sectors in Chonburi Province. The instrument used to collect the data was a semi-structured interview.  The informants participating in this study were 14 Generation Y employees from both public and private sectors, 7 workers from each sector.  Also, a content analysis technique was used to analyze the collected data.  The results of this study revealed that the main factors of work motivation affecting the performance of Generation Y employees comprised both internal and external factors.  Regarding the internal work motivation, it included personal attitudes and attitudes of family members.  For the external work motivation, it comprised compensation, type of work, work environment, relationship with colleagues, and job advancement.  Also, it was shown that only the external work motivation affected the performance of Generation Y employees who worked for private sectors.  This included compensation, type of work, relationship with co-workers, job advancement, and work independence.  In addition, based on the comparisons of work motivational factors affecting the performance of Generation Y employees working for public sectors and private sectors, it was shown that the factors in relation to compensation, type of work, relationship with co-workers, job advancement affected both groups.  Finally, it was found that while the motivational factor in relation to work environment affected Generation Y workers who worked for public sectors, the one relating to work independence affected Generation Y workers who worked for private sectors.

Keywords: Work Motivation, Generation Y, Public Sectors, Private Sectors


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.