Page Header

Vocational Students’ Motivation toward Studying English แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนอาชีวศึกษา

สว่างฤทัย อัยกร, มนนิภา สมพงษ์

Abstract


This study aims to investigate the motivation level of vocational students toward studying English
and also to explore whether the students instrumentally or integratively motivated. The two research
instruments were the motivation questionnaire adopted from Gardner’s Attitude/Motivation Test Battery
(1985) and the one-on-one interview. The participants were 120 third year vocational certificate students
from a college in Sakon Nakhon province. The participants were divided into three groups according to their
field of study: Business computer group, Industry group, and Accountancy group. The data was statistically
analyzed through SPSS to find out the mean score and standard deviation of the quantitative data. The
results revealed that the 3 rd year vocational students reported quite high level of motivation toward studying
English and the motivational level students from Business computer and Accountancy group were higher
than those from Industry group. The students also reported quite high scores of both instrumental and
integrative orientation; however, the mean score of instrumental orientation was higher than that of integrative
orientation. Therefore, the vocational students were more instrumentally motivated than integratively
motivated. The author suggests that the teacher should design a teaching methodology in order to maintain
and increase students’ motivation including encourage students to self-generate their motivation.

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจของนักเรียนอาชีวศึกษาที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ และศึกษา ว่านักเรียนมีแนวโน้มในการเกิดแรงจูงใจจากปัจจัยภายในหรือภายนอก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องแรง จูงใจที่ดัดแปลงมาจาก Attitude/Motivation Test Battery โดย Gardner (1985) และการสัมภาษณ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนอาชีวศึกษา ระดับ ปวช. ปีที่ 3 จำนวน 120 คน จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม อิงตามสาขาที่เรียน คือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มบัญชี ข้อมูล ถูกวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS เพื่อค้นหาคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเชิงปริมาณ ผลจาก การศึกษาพบว่า นักเรียน ปวช. ปีที่ 3 มีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษค่อนข้างสูง นักเรียนจากกลุ่มคอมพิวเตอร์ธุรกิจกับ กลุ่มบัญชีมีระดับแรงจูงใจที่สูงกว่านักเรียนจากกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มในการเรียนภาษาอังกฤษจากปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกค่อนข้างสูง แต่มีแนวโน้มจากปัจจัยภายนอกสูงกว่า จึงกล่าวได้ว่า นักเรียนอาชีวศึกษามีแนวโน้มในการเกิด แรงจูงใจจากปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน ผู้วิจัยแนะนำให้ผู้สอนออกแบบการสอนเพื่อรักษาและเพิ่มระดับแรงจูงใจของ นักเรียน รวมไปถึงกระตุ้นให้นักเรียนสร้างแรงจูงใจด้วยตนเอง


Keywords


แรงจูงใจ; แนวโน้มจากปัจจัยภายใน; แนวโน้มจากปัจจัยภายนอก; นักเรียนอาชีวศึกษา; Motivation; Integrative orientation, Instrumental orientation; Vocational students

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.faa.2020.02.004

Refbacks

  • There are currently no refbacks.