Page Header

A Development Model of Cooperative Learning by Applying Augmented Reality Technology Enhances the Real Practical Skills and Study Durability of Bachelor Students of Engineering

Chaianan Sakhajun, Suthida Chaichomchuen

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมและส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคงทนทางการเรียน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคงทนทางการเรียน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเรียน “ARLT MODEL” ได้รับการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.67) (S.D.= 0.59) โดยองค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ (2) การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม (3) การตัดสินใจเลือกสื่อการสอน (4) การจัดหาวัสดุเครื่องมือ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือ แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เตรียมความพร้อมก่อนเรียน ประกอบด้วยทดสอบก่อนเรียน และการจัดกลุ่มผู้เรียน ส่วนที่ 2 กระบวนการเรียนการสอน มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้ ขั้นที่ 2 ชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียน ขั้นที่ 3 ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก (AR) ขั้นที่ 4 อภิปรายกลุ่ม ขั้นที่ 5 วางแผนการทำงาน ขั้นที่ 6 ลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 7 ตรวจสอบผลงาน ส่วนที่ 3 ประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วยประเมินทักษะปฏิบัติ และประเมินผลงาน และ องค์ประกอบ ที่ 3 ผลิตผล ได้แก่ (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) ทักษะปฏิบัติ (3) ความคงทนในการเรียน และ (4) ความพึงพอใจ โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ เทคโนโลยีความจริงเสริมอาจไม่สามารถใช้ได้กับทุกวิชา รูปแบบที่สังเคราะห์ควรระบุประเภทของเนื้อหาที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ เช่น วิชาที่เน้นการรับรู้ทางการมองภาพ หรือวิชาที่มีความซับซ้อนของการนำเสนอแต่สำหรับ เทคโนโลยีความจริงเสริม นั้นเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ดีมากเหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักศึกษาในปัจจุบัน


Keywords


รูปแบบการเรียน ARLT MODEL, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ทักษะปฏิบัติ

[1] S. Srinok and T. Prasertcharoensuk, "Teacher Competency Factors and Students’ Life Skill Affecting Students’ Quality under the Office of Bueng Kan rimary Educational Service Area," Journal of Educational, KHON KAEN UNIVERSITY, vol. 37, no. 3, pp. 156-166, 2014. (in Thai)

[2] P. Kraipiyaset, N. Jeerungsuwan and P. Chatwattana, "Design of m-learning Interaction Model Via Social Cloud to Enhance Collaborative Learning Skills of Undergraduate Students," Technical Education Journal : King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, vol. 10, no. 2, pp. 128-137, 2019. (in Thai)

[3] K. Mingsiritham, "Integrating cooperative learning and collaborative learning," Veridian E-Journal SU, vol. 4, no. 1, pp. 435-444, 2011.

[4] S. Tuntirojanawong, "A Direction of Educational Management in the 21st Century," Veridian E-Journal, Silpakorn University, vol. 10, no. 2, pp. 2843-2854, 2017. (in Thai)

[5] "Web AR: A Promising Future for Mobile Augmented Reality—State of the Art, Challenges, and Insights," Xiuquan, Qiao; Pei, Ren; Schahram, Dustdar; Ling, Liu; Huadong, Ma; Junliang, Chen, vol. 107, no. 4, pp. 651-666, 2019. (in Thai)

[6] I. E. Achumba, D. Azzi, V. L. Dunn and G. A. Chukwudebe, "Intelligent Performance Assessment of Students' Laboratory Work in a Virtual Electronic Laboratory Environment," IEEE Transactions on Learning Technologies, vol. 6, no. 2, pp. 103-116, 2013.

[7] W. Yoosook, K. Chanaisawan, Jedcharoenruk and Somyot, "The Development of Practical Instructional Model for Vocational Teachers," Technical Education Journal : King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, vol. 10, no. 2, pp. 118-127, 2019. (in Thai)

[8] I. Radu, "Why should my students use AR? A comparative review of the educational impacts of augmented-reality," in 2012 IEEE International Symposium on Mixed and Augmented Reality (ISMAR), Atlanta, GA, USA, 2012.

[9] T. Kammanee, Knowledge teaching science for organizing effective learning processes, Bangkok: Dann Suttha Printing, 2006. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -