Page Header

การศึกษาการปรับตัวต่อสภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก: กรณีศึกษาผู้ที่มีประสบการณ์การสูญเสียในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

สมฤดี สุทธิกุล, ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญ

Abstract


การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบของการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (2) ศึกษาประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (3) ศึกษาผลกระทบของบุคคลที่มีสภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (4) ศึกษาแนวทางที่บุคคลสามารถปรับตัวต่อสภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (5) ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อสภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นรายบุคคล กับผู้ที่มีประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คนผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า

         1.  รูปแบบของการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเสียชีวิตโดยเจตนา ซึ่งเป็นการที่ผู้เสียชีวิตมีเจตนาที่จะกระทำการใดๆ เพื่อที่จะทำให้ตนเองเสียชีวิต อาทิ การผูกคอตาย การกินยาตาย การยิงตัวตาย เป็นต้น 2) การเสียชีวิตโดยไม่เจตนา แบบกะทันหัน เป็นการที่ผู้เสียชีวิต เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ อาทิ รถชน รถคว่ำ เป็นต้น รวมถึงการเสียชีวิตด้วยโรคภัยต่างๆ ที่ผู้เสียชีวิตไม่ทราบการเจ็บป่วยของตนเองมาก่อน หรืออาจทราบแต่ไม่ได้บอกบุคคลใกล้ชิด และ 3) การเสียชีวิตโดยไม่เจตนา แบบไม่กะทันหัน การเสียชีวิตในรูปแบบนี้ คือการเสียชีวิตที่ผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัว โดยบุคคลใกล้ชิดหรือครอบครัวได้ติดตามผลการรักษาและอาการต่างๆ ของผู้เสียชีวิตมาเป็นระยะเวลานาน

         2.  ลักษณะของประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง 2) ระยะโกรธ 3) ระยะต่อรอง 4) ระยะเศร้า และ 5) ระยะยอมรับ

         3.  ผลกระทบของบุคคลที่มีสภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ผลกระทบทางด้านร่างกาย ผลกระทบทางด้านอารมณ์/ความรู้สึก ผลกระทบทางด้านสังคม และผลกระทบทางด้านสติปัญญา

         4.  แนวทางการปรับตัวต่อสภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักได้นั้น ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่         การปรับตัวแบบสู้ การปรับตัวแบบหนี การปรับตัวแบบประนีประนอมและการปรับตัวโดยใช้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

         5.  การสนับสนุนทางสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อสภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การสนับสนุนด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนด้านเครื่องมือ

This study focused on a qualitative research and the objectives were to study (1) The pattern of the loss of a beloved person (2) The experience of the loss of a beloved person (3) The effects of a person with the grief from the loss of loved persons (4) The ways how a person was able to adjust himself of herself to the state of grief from the loss of a loved person and (5) The social support that was related to the adjustment to grief from the loss of a loved person. The population were 10 persons who had experienced the loss of a loved person at Din Daeng District, Bangkok throughin-depth interview.

The results were as follows:                                        

         1.  The pattern of the loss of a beloved person were divided into 3 patterns 1) Intentional death which was the deceased's intention to take any action in order to cause his own death (suicide), such as strangled to death, medication, family members,etc. 2) Sudden unintentional death is the death from accidents such as car accident, various diseases that the deceased were unaware of one's own illness before or may not disclose the siblings or family members and 3) Unintentional deaths, caused by congenital disease, where close people or families receiving follow-up treatment and the symptoms of the deceased for a long time.

         2.  The characteristics of the experience of losing a loved person was divided into 5 states: 1) State of denial 2) State of anger 3) State of bargaining 4) State of depressionand 5) State of acceptance.

         3.  The effects of a person who had the state of grief from the loss of a loved person was divided into 4 areas, which were physical effects, emotional effects, social effects, and intelligence effects.

         4.  The ways to adjust to the state of grief from the loss of a loved person wasdivided into 4 areas, which were fight response, flight response, compromise response, and social interaction response.

         5.  Social support that was related to adaptation to the state of grief from the loss of a loved person was divided into 3 types: emotional support, information support, and instrumental support.


Keywords


สภาวะเศร้าโศก; การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก; การปรับตัว; <span>The State of Grief; The Loss of a Loved Person; Adaptation</span>

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.